วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2559

[IoT] NETPIE Freeboard [Part3]

NETPIE Freeboard สำหรับผู้เริ่มต้น
How-to Guide for NETPIE Freeboard's beginners 

PART3: "อุณหภูมิ" "ความชื้น" และ "ความเข้มแสง" 

(ตัวอย่างการส่งค่าเซนเซอร์ ผ่าน NETPIE)



ทักทาย...


      ครับหลังจาก Part ที่แล้วเราได้ลองเปิดปิดหลอดไฟ (LED) ผ่าน NETPIE กันแล้ว ซึ่งนั่นเป็น

รูปแบบของการส่งข้อมูลสถานะ "เปิด" หรือ "ปิด" ระหว่าง Freeboard ของเรากับอุปกรณ์ (Things) นั้น 

คาดว่าหลังจากได้ทดลองลงมือทำดูจริงๆแล้วคงทำให้เข้าใจระบบการทำงาน ของ NETPIE Freeboard

กันมากขึ้นแล้วนะครับ และใน Part นี้จะเป็นการทดลอง ส่งค่า "อุณหภูมิ" และ "ความชื้น" นะครับ 

ขอเรียกการทดลองนี้ว่า "SmartSensor" แล้วกันนะครับ ถ้าพร้อมแล้วก็ เริ่มกันเลยครับ ^_^

     



STEP1: เตรียมอุปกรณ์ 


สำหรับอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมก็มีดังนี้นะครับ...

1.เช่นเคยครับ กับ บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ NodeMCU V.2 (ESP-12E)



2.ตามด้วยโปรโตบอร์ดครับ เพื่อให้การต่ออะไรๆง่ายขึ้น



3. โมดูล DHT11 หรือ DHT22 แบบเป็นโมดูลสำเร็จรูป 
หรือแบบที่เป็นเฉพาะเซนเซอร์ก็ได้ครับ (แค่อันเดียวก็พอนะครับ)



4. ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ตามแสง (LDR) ครับ 1 ตัว



5. และสุดท้าย คือ ตัวต้านทาน ค่า 10k (10 กิโลโอห์ม) ครับ
รหัสสี: น้ำตาล ดำ ส้ม ตามด้วยเงินหรือทอง ครับ
เตรียมไว้ซัก 2 ตัวนะครับ



STEP2: การต่อวงจร


     สำหรับการต่อวงจร ก็จะมี 2 แบบนะครับ ถ้าใช้ DHT แบบที่เป็นเซนเซอร์เปล่าๆ ก็จะมีการ
ต่อวงจรที่ต่างไป คือจะต้องต่อตัวต้านทาน 10k คร่อมระหว่างขา Vcc และขา Signal ด้วยครับ
ซึ่งในตัวอย่างนี้ผมเลือกใช้ DHT22 มาต่อให้ดูเป็นตัวอย่างนะครับ

การต่อวงจรแบบที่ 1 : ใช้ DHT22 แบบที่เป็นเซนเซอร์เปล่าๆ





การต่อวงจรแบบที่ 2 : ใช้ DHT22 แบบที่เป็นโมดูล


หมายเหตุ: LDR นั้นมีหลายขนาดและหลายเสป็คนะครับ 
ตัวต้านทานที่ต่อกับ LDR อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมครับผม

STEP3: ติดตั้งไลบรารี่สำหรับเซนเซอร์ DHT แบบต่างๆ


เนื่องจากในบทความนี้มีการใช้เซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น
DHT22 (หรือ DHT11) ซึ่งจะมีการ include ไฟล์ DHT.h ซึ่งเป็น Library
ของ DHT Sensor สำหรับ Arduino ซึ่งขั้นตอนการติดตั้งก็จะมีดังนี้ครับ


ขั้นแรกก็ให้ เปิดโปรแกรม Arduino ขึ้นมาครับผม 
แล้วกดที่ Sketch > Include Library > Manage Libraries




จากนั้นจะขึ้นหน้าต่าง Library Manager ขึ้นมาครับก็ให้ทำตามนี้เลย
ของผมเลือกใช้ Library ของ Adafruit ตัวนี้นะครับ




เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้วก็จะเป็นแบบนี้ครับ ก็ทำการกด Close เพื่อปิดหน้าต่างไปได้เลย




สำหรับใครที่ยังไม่ได้เตรียม Software สำหรับการใช้งาน Arduino และ NodeMCU V2
ตามไปดูขั้นตอนและวิธีการเซ็ทอัพโปรแกรมต่างๆที่ลิงค์นี้นะครับที่ลิ้งค์นี้นะครับ 

STEP4: อัพโหลดโปรแกรม


ก่อนอื่นก็ให้สร้าง Key สำหรับอุปกรณ์นี้บน NETPIE ก่อนนะครับ 
เช่นของผมสร้างไว้ภายใน AppID ชื่อ ZerefSmartHome โดยสร้างเป็น
Device Key ชื่อว่า SmartSensor ครับ สำหรับการใช้งาน NETPIE และการสร้าง
Key อย่างละเอียดนั้นให้ตามดูจากบทความก่อนหน้านี้ใน >>> Smart Home Part 5


สำหรับโค้ดโปรแกรมที่จะอัพโหลดก็จะเป็นแบบนี้นะครับ
ก่อนอัพโหลดก็ให้ทำการแก้ในส่วนของ APPID, KEY, และ SERCRET
โดยใส่ค่าตามที่ได้จากการสร้างไว้บน NETPIE นะครับ



เมื่ออัพโหลดแล้ว บอร์ดจะทำงาน ให้ทำการเปิด Serial Monitor ขึ้นมา
เพื่อดูสถานะการทำงานของบอร์ดนะครับ โดยทำการคลิ๊กที่ Tools > Serial Monitor
หากมีปัญหาในขั้นตอนการเชื่อมต่อหรือยังไงเราจะสามารถเห็นได้จากที่นี่ครับ


เท่านี้ก็เรียบร้อยครับสำหรับการอัพโหลดโค้ดโปรแกรมลงบอร์ด 
ต่อไปเราจะไปดูฝั่งของ Freeboard กันต่อเลยนะครับ


STEP5: รับข้อมูลบน NETPIE Freeboard


ก่อนอื่นก็ให้เปิด Freeboard ขึ้นมาครับ สำหรับอันนี้จะเป็น Freeboard ที่ต่อเนื่องมาจาก
บทความใน Part 1 และ 2 นะครับ (มีการสร้าง Datasource และมี Widgets ต่อเนื่องมาจากตอนที่แล้ว)




ก่อนอื่นผมก็จะทำการกดปุ่ม ADD PANE เพื่อเพิ่มแผงใหม่ขึ้นมานะครับ
สามารถลากแผงไปมาได้ตามใจชอบเลยครับ โดยการคลิ๊กตรงขอบบนแล้วลากได้ครับ




หลังจากลากมาวางแล้ว ก็จะทำการเพิ่ม Widget แบบ Gauge ครับ โดยจะมีค่าต่างๆ ดังนี้ครับ




สำหรับการใส่ช่องในค่า VALUE ให้คลิ๊กตามลำดับนี้นะครับ




ตรงนี้จะเห็นข้อมูลที่ chat มาจาก SmartSensor นะครับ ตอนนี้เราทำ Gauge 
สำหรับแสดงค่าอุณหภูมิอยู่ ก็ให้เลือก SmartSensor/Temperature ได้เลยครับ




จากนั้นกดที่ SAVE เพื่อบันทึกครับ 




จากนั้นเราก็จะได้ Gauge สำหรับแสดงอุณหภูมิแบบนี้ครับผม




จากนั้นก็ทำตามขั้นตอนเดิม เพื่อสร้างอีก Gauge นึง มาเพื่อแสดงค่าความชื้นครับ




โดยความชื้นนั้น จะมีหน่วยเป็น %RH ครับผม 




และทำเหมือนเดิมอีกครั้งนึง เพื่อสร้าง Gauge สำหรับแสดงค่าความเข้มแสงครับ
ตรงช่อง VALUE ก็ให้เลือกเป็น SmartSensor/LightLevel ครับ และจะมีการแก้ตรงช่อง
MAXIMUM เป็น 10 ครับ เพราะค่าความเข้มแสงที่ SmartSensor ส่งมา จะมีค่าเป็น 0 ถึง 10 ครับ




จากนั้นพอกด Save ไปอีกทีก็จะได้ครบแล้วครับ แต่การจัดเรียงยังดูวุ่นวายอยู่




ซึ่งพอคลิ๊ก-ลาก-วางไปมานิดหน่อย ก็จะออกมาดูสวยงามแล้วครับ




แล้วจากนั้น แต่ละแผง ยังสามารถตั้งชื่อ Title ได้นะครับ โดยทำแบบนี้ครับ




แล้วก็สามารถตั้งชื่อให้กับแผง แล้วกด Save ได้เลยครับ 
(ส่วน Column จะเป็นการกำหนดความกว้างของแผงนะครับ ลองปรับดูได้ครับผม)




พอตั้งชื่อให้กับทุกแผงแล้วก็จะออกมาสวยงามและดูชัดเจนแบบนี้เลยครับ




ก็เป็นอันเสร็จแล้วนะครับกับการสร้างอุปกรณ์ SmartSensor เพื่อแสดงข้อมูลอุณหภูมิ
ความชื้น และความเข้มแสง ผ่าน NETPIE Freeboard หวังว่าทั้งมือเก่าและมือใหม่ทุกท่าน
ที่ติดตามบทความนี้จะนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปได้ในอนาคตได้นะครับ สำหรับ part นี้จะจบลงเพียงเท่านี้
ส่วนจะมี part ใหม่ต่อไปนั้น ต้องคิดตามกันต่อไปนะครับ 555+ สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ





วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

[IoT] NETPIE Freeboard [Part2]

NETPIE Freeboard สำหรับผู้เริ่มต้น
How-to Guide for NETPIE Freeboard's beginners 

PART2: การทดลองเปิดปิดไฟผ่าน NETPIE Freeboard



เกริ่นนำ...

     เอาหละครับ ที่ผมเขียนอธิบายไว้อย่างยาวเหยียดใน PART1 นั้นอาจจะทำให้พอเข้าใจได้บ้างแล้ว
แต่สำหรับคนที่ยังไม่เข้าใจ ผมเชื่อว่าหลังการทดลองนี้ จะทำให้เข้าใจได้มากขึ้นแน่นอนครับ 555+
ในการทดลองนี้ เราจะสร้างชุดจำลอง Smart Home ที่ใช้เปิดปิดหลอดไฟในบ้านขึ้นมานะครับ
โดยใช้หลอด LED เป็นตัวแทนของหลอดไฟที่จะไปควบคุมจริงๆ ถ้าพร้อมแล้วก็เริ่มเลยนะครับ...


STEP1: เตรียมอุปกรณ์กันก่อน (สร้าง Things และอัพโหลดโค้ด)


1.บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ NodeMCU V2 (ESP-12E)
เป็นหนึ่งบอร์ดที่ผมเชื่อว่ามือใหม่ทุกคนน่าจะมีติดมือกันอยู่แล้วนะครับ
เพราะโดยส่วนตัวผมคิดว่าเป็นบอร์ดที่่ใช้งานง่ายที่สุด และราคาก็ไม่แพงมากครับผม


2.โปรโตบอร์ด ครับ หนึ่งในอุปกรณ์สุดคลาสสิคที่น่าจะมีติดมือกันทุกคน


3.และสุดท้ายคือ หลอด LED ครับ ในที่นี้ผมใช้เป็นหลอดเล็ก สีขาวนะครับ



โดยอุปกรณ์ทั้งหมด ผมจะต่อเข้าด้วยกันตามภาพนี้นะครับ


หลังจากนั้นก็ทำการสร้าง KEY ชื่อ TestLED ไว้ใน NETPIE 
และทำการนำมาใส่ค่าในส่วนที่ผมคอมเมนต์ไว้ (7 บรรทัดนั้น) ให้ถูกต้อง
จากนั้นก็โหลดโค้ดลงบนบอร์ดได้เลยครับ

โค้ด Freeboard_TestLED


สำหรับใครที่ยังไม่ได้เตรียม Software สำหรับการใช้งาน Arduino และ NodeMCU V2
ตามไปดูขั้นตอนและวิธีการเซ็ทอัพโปรแกรมต่างๆที่ลิงค์นี้นะครับที่ลิ้งค์นี้นะครับ 

เมื่ออัพโหลดลงแล้ว ก็ให้ลองเปิด Serial Monitor (เลือก Baud Rate เป็น 115200)
ดูครับว่าบอร์ดของเรานั้นเชื่อมต่อเรียบร้อยหรือไม่ ตามรูปด้านล่างนี้ครับ 


ถ้าหากไม่มีปัญหาอะไรแล้วก็เป็นอันว่าเรียบร้อยครับ เพียงเท่านี้เราก็จะได้ Thing 
ที่มีหลอด LED หนึ่งหลอด และพร้อมที่จะทดลองการเปิดปิดผ่าน NETPIE Freeboard แล้วครับ



STEP2: ทีนี้มาดูบน Freeboard กันบ้าง


ให้ทำการเปิด Freeboard ที่เราสร้าง Datasource ไว้ใน Part แรกขึ้นมาครับผม
จากนั้นก็ให้กดปุ่ม ADD PANE ตามภาพนี้ครับ

จากนั้นก็จะได้แผง (Pane) มาหนึ่งแผงครับ ซึ่งเราสามารถเพิ่ม Widgets 
(สำหรับแสดงผล/ควบคุมต่างๆ) ลงบนแผงที่สร้างขึ้นมานี้ครับ


เมื่อกดแล้วก็จะขึ้นหน้ามาให้เลือกครับว่าเราจะเพิ่มอะไรลงไป ในที่นี้ผมจะสร้างปุ่มขึ้นมา
เพื่อทำการเปิดปิดหลอดไฟ LED ก่อนนะครับ ก็จะทำการเลือกเป็น Button ครับผม


จากนั้นก็จะมาถึงจุดไคล์แมกซ์ละครับ ก็คือการใส่ข้อมูล และคำสั่งให้กับปุ่มๆนี้ 
โดยข้อมูลที่ต้องใส่แต่ละช่องก็มีรายละเอียดดังนี้ครับผม 


โดยปุ่มแรกที่ผมจะทำคือ ปุ่มเปิดไฟครับ โดยผมจะมีการใส่ข้อมูลต่างๆดังนี้ครับ


ขออธิบายในส่วนของคำสั่ง Javascript นิดนึงนะครับ อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้
ใน Part ที่แล้วครับว่าจะมีการใช้คำสั่ง JavaScript ซึ่งมีรูปแบบคำสั่งเป็นแบบนี้นะครับ

microgear["ชื่อ Microgear Reference"].chat("ชื่อผู้รับ(Alias)","ข้อความ")

โดยในที่นี้ เรากดเปิดไฟจาก Freeboard ฉะนั้น คนที่สั่งก็คือ Freeboard ครับ
ดังนั้น ชื่อ Microgear Reference ที่ใส่ในคำสั่ง จึงเป็นชื่อเดียวกับ
Microgear Reference ที่เราตั้งตอนสร้าง Datasource ครับผม



ส่วน ชื่อผู้รับ(Alias) นั้นจะเป็นไปตามที่เราตั้งไว้ใน Code ตอนเขียนโปรแกรมใน Arduino ครับ




และ ข้อความ ก็จะแล้วแต่เงื่อนไขครับ เช่นในที่นี้ในโค้ดมีการรอฟังคำสั่งคือ ON กับ OFF ครับ




และนี่คือที่มาทั้งหมดของคำสั่ง Javascript ที่อยู่ในรูปครับ

microgear["freeboard_mg1"].chat("testled","ON")


ทีนี้พอเข้าใจรูปแบบคำสั่งแล้วก็ให้ทำการกด SAVE เพื่อบันทึกค่าครับผม


จากนั้นก็จะได้ปุ่มเปิดไฟสีเขียวสวยงามอร่ามตาครับ เมื่อลองกดดูไฟ LED ที่บอร์ดของเรา
ก็จะติดขึ้นมาครับ (สำหรับบางคนหลังสร้างปุ่มก็อาจจะติดเองเลย เป็นอาการปกตินะครับ)
และเมื่อกดปุ่มจะเห็นว่ามีการอัพเดทของข้อมูลบน Datasource ด้วยครับผม 
(ถ้าไม่เป็นไปตามนี้แสดงว่ามีขั้นตอนบางอย่างผิดไป ให้ลองย้อนทำใหม่และค่อยๆแก้ปัญหานะครับ)


ทีนี้ก็ให้ทำการกดที่ปุ่ม [+] ของแผงนี้เหมือนเดิม เพื่อสร้างปุ่มขึ้นมาอีกปุ่มนึงครับผม


ทีนี้ก็ทำตามขั้นตอนเดิมครับ เลือก Type เป็น Button 
แล้วกรอกข้อมูลให้เป็นปุ่มปิดครับ โดยของผมจะสร้างเป็นสีแดงนะครับ
ตรงส่วน Javascript ก็กรอกเหมือนเดิมเลยครับ 
แต่เปลี่ยนส่วนสุดท้ายจาก .chat("testled","ON") ให้เป็น .chat("testled","OFF") ครับ


หลังจากกด SAVE เราก็จะได้ปุ่มปิดไฟเพิ่มมาอีกปุ่มครับ 
ทีนี้เราก็จะสามารถเปิดปิดไฟผ่าน NETPIE Freeboard ได้แล้วครับ


ทีนี้เพื่อความสมบูรณ์แบบนะครับ เราจะมาสร้าง หลอดไฟแสดงสถานะ (Indicator Light)
เพื่อให้รู้ว่า LED ของเรานั้นเปิดปิดตามที่สั่งไปหรือยังนะครับ โดยจากโค้ดใน Arduino
ในส่วนของช่วงประมวลผลคำสั่ง จะมีคำสั่งชุดนี้อยู่ 


สำหรับการทำงานของคำสั่งนี้ก็คือ เมื่อบอร์ดได้รับข้อความว่า ON หรือ OFF มาแล้ว
ก็จะทำการเปิดหรือปิด LED ตามคำสั่งที่ได้รับมา และหลังจากเปิดหรือปิดเรียบร้อยแล้ว
ก็จะมีการ chat ไปบอกบน Freeboard ด้วยว่าสถานะปัจจุบันเป็น ON หรือ OFF อยู่ครับ
โดยจะมีการส่งคำสั่งไปยัง Alias ที่มีชื่อว่า testledstatus ครับผม 
ซึ่งจะเป็นชื่อของหลอด Indicator ที่เรากำลังจะไปสร้างบน NETPIE Freeboard นั่นเองครับ

สำหรับการาสร้างหลอดไฟแสดงสถานะบน Freeboard ก็ให้ทำตามนี้นะครับ
เริ่มจากกดปุ่ม [+] บนแผงที่มีปุ่มของเราเหมือนเดิมครับผม


ทีนี้ก็ให้เลือก Type เป็น Indicator Light (ไฟแสดงสถานะ) ครับผม


แล้วทำการกรอกรายละเอียดต่างๆ โดยแต่ละช่องมีรายละเอียดดังนี้ครับ


ช่อง VALUE นั้นจะเป็นเงื่อนไขนะครับ โดยหลอดไฟจะติดเมื่อเงื่อนไขในช่อง VALUE 
มีค่าเป็นจริงสำหรับการใส่ค่าในช่อง VALUE เพื่อสร้างเงื่อนไขก็จะมีขั้นตอนดังนี้ครับ 
(โดยผมจะเริ่มตั้งแต่ตอนที่ช่องนี้ยังว่างอยู่เลยนะครับ)

1. คลิ๊กที่ปุ่ม + Datasource ข้างหลังช่อง VALUE ครับ


2. จากนั้นจะมีข้อมูลปรากฏขึ้นมาในช่องโดยอัตโนมัติครับ แล้วจะมีรายชื่อ Datasource 
ให้เราเลือกที่ด้านล่าง ก็ให้ทำการเลือก Datasource ที่เราสร้างไว้ครับผม


3.หลังจากคลิ๊กเลือก Datasource ในขั้นตอนที่แล้ว ก็จะมีไดเรกทอรี่ของข้อมูลให้เลือกครับ
โดยในตอนนี้เราจะเห็น Alias ทั้งสองอันของเรา โดย testled นั้นเป็นชื่อ Alias ของบอร์ดเราที่ต่อ
LED ของจริงอยู่ในตอนนี้ ซึ่งข้อมูลจะถูกส่งไปมาด้วยปุ่มเปิดปิดที่เราสร้างไปก่อนหน้านี้ครับ
ส่วน testledstatus เป็นชื่อ Alias ลอยๆที่เราให้บอร์ดเรา chat กลับมาบอกครับ โดยในที่นี้
เราเหมือนกำลังจะมอบ Alias นี้ให้เป็นของหลอด Indicator Light นี้นั่นเองครับ
ก็ให้ทำการคลิ๊กเลือกอันที่เป็น testledstatus ครับผม


4.ทีนี้ก็จะมีคำสั่งข้อมูลขึ้นมาจนเต็มกรอบช่องนี้เลยครับ 
เราก็จะทำการกดเพื่อเข้าแก้ไขข้อมูล ด้วย .JS EDITOR โดยการคลิ๊กที่ปุ่มนี้ครับ


เมื่อกดแล้ว NETPIE Freeboard ก็จะนำพาเรามาสู่หน้า JS Editor ครับ 
ซึ่งเราจะเห็น ข้อมูลของเราในช่อง VALUE แบบเต็มๆแบบนี้ครับ 


ซึ่งข้อมูลที่เห็นทั้งบรรทัดนี้คือตัวแปรตัวหนึ่ง
ที่จะมีค่าเป็น ON หรือเป็น OFF ก็ตามที่บอร์ด chat กลับมาครับ
(คือค่าของ testledstatus นั่นเองครับ)


5. แล้วอย่างที่บอกไปว่า ข้อมูลที่เราจะกรอกในช่อง VALUE นั้นเป็นเงื่อนไข 
และหลอด Indicator Light นี้จะติดขึ้้นเมื่อเงื่อนไขในช่องเป็นจริง ดังนั้น
ผมก็จะทำการทำให้อยู่ในรูปแบบเงื่อนไข โดยการใส่ == "ON" เข้าไปครับผม


อธิบายก็คือ เมื่อเรากดปุ่มเปิดไฟ ปุ่มจะ chat ไปหาบอร์ดว่า ON 
แล้วบอร์ดก็จะเปิดไฟให้เราครับ (testled จะมีค่าเป็น "ON") แล้วทีนี้พอบอร์ดเปิดไฟ
เสร็จแล้ว ก็จะมีการ chat กลับมาในตัวแปร testledstatus ว่า ON แล้ว 
(จะทำให้ testledstatus มีค่าเป็น "ON")
ซึ่งเมื่อ testledstatus มีค่าเป็น "ON" นั้นจะทำให้เงื่อนไขที่เรากรอกนี้เป็นจริง 
(อย่าลืมนะครับว่าที่เราแก้ไขอยู่นี่คือข้อมูลในช่อง VALUE ของ Indicator Light)
เมื่อเงื่อนไขในช่อง VALUE เป็นจริง ก็จะทำให้ลอด Indicator Light ติดครับผม
กลับกัน เมื่อเป็นเท็จ (เราสั่งปิดไฟ ค่ากลายเป็น "OFF") 
หลอด Indicatior Light ก็จะดับครับผม

เมื่อเพิ่มข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วก็กด CLOSE เลยครับ


พอลองเลื่อนดูจะเห็นว่าข้อมูลในช่อง VALUE นั้นถูกเพิ่ม == "ON" ครับ
คราวหลังจะเลื่อนมาเติม == "ON" ตรงนี้เลยไม่ต้องเข้า .JS Editor ก็ได้นะครับ
แต่เพื่อความดูง่ายและเพื่อให้เห็นข้อมูลในช่องทั้งหมด หรือในอนาคตบางที
อาจจะต้องใส่ข้อมูลมากกว่า 1 บรรทัด การกดเข้า .JS Editor 
จะทำให้เรากรอกข้อมูลได้ง่ายกว่าครับ ก็ให้ทำการกด SAVE เลยครับผม 


เป็นอันเสร็จสิ้นกับการสร้าง หลอดไฟแสดงสถานะ (Indicator Light) ครับผม
ลองกดเปิดปิดหลอดไฟผ่านปุ่มแล้วดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้เลยครับ 



ซึ่งผลลัพธ์ของผมก็ตามวีดีโอนี้เลยครับ


เป็นไงกันบ้างครับ กับการทดลอง เปิดปิดไฟ LED ผ่าน NETPIE Freeboard
สำหรับใน Part นี้ผมอาจจะเขียนละเอียด และใช้รูปเปลืองไปหน่อยนะครับ 555+
แต่ก็คือมีบางจุดที่อาจจะซับซ้อนและเข้าใจยากหน่อย ก็เลยต้องอธิบายยาวๆครับ
หวังว่าผู้ติดตามทุกคนที่ทำตาม จะได้ผลลัพธ์การทดลองที่สมบูรณ์เหมือนในคลิปผมนะครับ

อ่านต่อ PART 3: Smart Sensor