วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

[IOT] สอนสร้าง "Smart Home" ด้วย NodeMCU V2 [Part 1]

Smart Home [Part 1] : เกริ่นนำกันก่อนครับ ^_^


สวัสดีครับ ผมเซเรฟ พบวันนี้มาพบกันในเรื่องของ IoT (Internet of Things) นะครับ
เนื่องจากผมเองเพิ่งจะผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งมัธยมปลายไปเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
วันนี้ จะขอเริ่มการเขียนบทความในซีรีย์...

Zeref's Tartaros Project:

"Smart Home"
(ระบบควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านผ่านอินเตอร์เน็ต)

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ NECTEC และ สวทช. (NSTDA) สำหรับบริการแพลตฟอร์ม
"NETPIE" ซึ่งเป็นสิ่งดีๆที่มอบให้คนทั่วไปได้เข้าไปใช้เพื่อการศึกษาและพัฒนา IoT 
เพื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในบ้านเราครับผม >>> Link

ที่มา: netpie.io

สำหรับบทความซีรีย์นี้ ผมจะเน้นไปที่การปฏิบัติและลงมือทำเลยนะครับ เหมาะสำหรับ
คนที่เข้าใจแล้วว่า IoT คืออะไรและทำงานยังไง แต่ผมจะพยายามลงลิ้งค์ไว้เป็นจุดๆนะครับ
สำหรับคนที่ยังไม่รู้ สามารถกดเข้าไปอ่านได้ระหว่างทางครับ โดยผมจะพยายามเขียนบทความ
ให้เป็นขั้นตอนละเอียด เน้นให้สามารถเข้าใจได้ง่าย และทำตามได้ในทุกขั้นตอนอย่างสบายๆ ครับ


อุปกรณ์หลักที่จะใช้ในโปรเจคนี้





สำหรับพระเอกของโปรเจกต์นี้ แน่นอนว่าต้องเป็นคนที่เกิดมาเพื่อ IoT ครับ 
ซึ่งก็ไม่ใช่ใครที่ไหนเลยครับ และทุกคนก็คงรู้จักกันดี เขาคือ... 
"NodeMCU V2 (ESP-12E)"
 

และตามมาด้วย Motor Shield สำหรับ NodeMCU V2 ครับ (ในโปรเจกต์นี้ไม่มีการขับมอเตอร์นะครับ)
เพียงแค่นำมาใช้เพื่อช่วยให้การต่อพอร์ต in/out และการจ่ายไฟเลี้ยงง่ายขึ้น ไม่ต้องใช้โปรโตบอร์ดครับ
(จริงๆแล้วจะไม่ใช้ก็ได้นะครับ ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคน แต่สำหรับผม มันง่ายกว่ามากครับ)



ต่อมาเป็นส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันครับ กับ Relay Module ครับ
สำหรับโปรเจคนี้ผมเลือกใช้แบบ 5V ครับ แต่ก็สามารถทำงานกับไฟเลี้ยง
3.3V ของ NodeMCU ได้ครับ (ทดสอบแล้วทำงานได้ปกติครับผม) 
โดยที่รีเลย์ตัวนี้จะมี 3 ขานะครับ คือถ้ามันอยู่ในสถานะ "เปิด" มันจะเอาขากลาง
ไปต่อขาทางซ้าย ส่วนเวลามัน "ปิด" มันจะเอาขากลางไปต่ออีกฝั่งครับ
หากมีท่านใดเห็นว่ารีเลย์ที่ผมใช้ยังไม่เหมาะสมหรือท่านมีแนวทางอื่น
ผมรบกวนทิ้งคอมเมนต์ไว้เพื่อให้ผมได้ปรับปรุงด้วยนะครับ


และต่อมาคือ แหล่งจ่ายไฟของบอร์ดเราครับ กับ 5V Adapter ในที่นี้ผมเลือกใช้
ที่ชาร์จโทรศัพท์นะครับ เนื่องจากในตัว Motor Shield ของ NodeMCU นั้นมี Regulator (ตัวปรับไฟ)
อยู่แล้ว สำหรับที่ผมใช้นี้จะจ่ายกระแสมากสุดที่ 850mA ครับ


อันนี้ตามความพอใจของแต่ละคนนะครับ Active Buzzer Module (ลำโพงเปียโซ)
ผมคิดว่า จะติดไว้เพื่อให้มีการส่งเสียงออกมา เมื่อได้รับคำสั่งให้เปิด,ปิดรีเลย์ครับ
ซึ่งจะดังเฉพาะเวลาที่เราเปิด,ปิดผ่านอินเทอร์เน็ตครับ หากเป็นการปิดที่สวิชต์ธรรมดา จะไม่มีเสียงครับ
(จริงๆแล้วไม่จำเป็นครับ เป็นความพอใจส่วนตัวของผมล้วนๆครับ 55555+)


เพื่อให้ชุดโปรเจคของเรามีความหลากหลายในการทำงาน ปลั๊กไฟผัวเมีย จะช่วยให้
โปรเจคของเรา สามารถไปทำงานได้กว้างขึ้นครับ คือจะไปใช้ที่ไหนก็ถอดไป แล้วไปเสียบตรงนั้น
(อ่านแล้วอาจจะงงๆนะครับ แต่เดี๋ยวจะอธิบายให้เข้าใจในตอนต่อๆไปอย่างแน่นอนครับ ผมสัญญา TT)


และสุดท้ายครับ คือ ชุดสวิชต์ 3 ทาง ครับผม นำมาใช้เป็นสวิชต์หลักที่จะสามารถเปิดปิดด้วยมือ
ควบคู่ไปกับการเปิดปิดด้วยอินเทอร์เน็ตได้ครับ เพราะผมเชื่อว่ายังไงก็ทิ้งวิธีการปกติไม่ได้ครับ
ยังไงก็ต้องยังมีไว้ใช้ เช่นในเวลาที่เน็ตล่ม 555+ และยังเป็นที่บรรจุชุดอุปกรณ์ควบคุมของเราอีกด้วยครับ
(แต่ถ้ายังไงหากพื้นที่ไม่พอก็อาจจะต้องติดตั้งไว้ข้างนอกครับ 555+) โดยที่เลือกเป็น 3 ทางนั้นก็เพราะ
จะทำระบบคล้ายๆที่ใช้เปิดปิดไฟที่ใช้ 2 สวิชต์ที่อยู่ในบ้านที่มีชั้นบนกับชั้นล่าง ที่สามารถเปิดปิดไฟจาก
ชั้นบนหรือชั้นล่างก็ได้ โดยใช้การต่อสวิชต์ในลักษณะตามรูปข้างล่างครับผม 


นี่คือลักษณะการใช้สวิชต์ครับ คือ จะใช้การเปิดปิดธรรมดา หรือผ่านอินเตอร์เน็ตก็สามารถควบคุม
ได้เหมือนกัน โดยที่สวิชต์ทั้งสองจะมีความสำคัญเท่าๆกันครับ (จะเปิดปิดแบบไหนก็ได้)







3 ความคิดเห็น:

  1. หาซื้อได้ที่ไหนอ่ะครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. http://www.arduino.in.th/

      ผมสั่งจากเว็บนี้ครับผม ^_^

      ลบ
    2. http://www.arduithai.com/product/321/4channels-internet-of-things-relay-control-with-esp8266-microcontroller

      ชุดนี้ควบคุมได้ 4 channels ครับ

      ลบ