วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

[IOT] สอนสร้าง "Smart Home" ด้วย NodeMCU V2 [Part 6] [END]

และแล้วก็มาถึง Part สุดท้ายของซีรีย์บทความ

Zeref's Tartaros Project "Smart Home" 

แล้วนะครับ


สำหรับ Part สุดท้ายนี้นะครับเราก็จะนำเอาอุปกรณ์ SmartNode1 ที่เราเพิ่งทำเสร็จเมื่อกี้
ไปทำการประกอบติดตั้งใส่ชุดสวิชต์ และต่อสายไฟให้เข้ากับไฟบ้านเพื่อใช้งานได้จริงครับผม ^_^ ถ้าพร้อมแล้วก็ เดินไปสับคัทเอาท์ของท่านลงได้เลยครับ!!! 5555+

การทำงานในขั้นตอนนี้ควรเป็นไปด้วยความระมัดระวัง อย่างมากถึงมากที่สุดนะครับ 
เนื่องจากจะต้องมีการทำงานไฟฟ้าบ้าน ซึ่งเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่แรงดัน 220V 
อาจเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ เพื่อความปลอดภัย ควรปิดระบบไฟฟ้าในบ้าน
ด้วยการสับคัทเอาท์ หรือ เบรคเกอร์ ของท่านลงก่อนลงมือปฏิบัติงานจริงนะครับ


CHAPTER 4 : ติดตั้งอุปกรณ์เข้ากับระบบสวิชต์จริง

ก่อนอื่นต้องขออธิบายคอนเซปต์คร่าวๆก่อนนะครับ

1.สำหรับภาคสวิชต์ของเรานั้น ผมจะทำคล้ายๆแบบ Plug and Play นะครับ 
จะทำให้อุปกรณ์ของเราใช้งานได้หลากหลายครับ คือที่ SmartNode ของเรา จะมีปลั๊ก (ตัวผู้) อยู่
ซึ่งเราสามารถนำไปเสียบกับ อุปกรณ์ปลายทางชิ้นไหนในบ้านก็ได้ 
ที่มีปลั๊กสวิชต์ (ตัวเมีย) ที่เราทำขึ้นมาเอง ซึ่งจะกล่าวถึงใน STEP ต่อไปครับ

แต่ปลั๊กตัวผู้นี้ห้ามเสียบกับเต้าไฟฟ้านะครับ 
ไม่งั้นจะเกิดปรากฏการณ์ "โชติช่วง" ไฟลุกวาบๆ
ไม่งั้นจะเกิดการลัดวงจรขึ้น และสร้างความเสียหายได้ครับ

2.นอกจากการควบคุมผ่านอินเตอร์เน็ตแล้ว ในกรณีที่อินเตอร์เน็ตมีการล่ม ใช้งานไม่ได้
หรือเกิดความผิดพลาดกับระบบขึ้นมา SmartNode ของเราก็จะไม่สามารถใช้งานได้เลย
(ดึกแล้วแต่แม่ให้ไปเปิดไฟ แต่ถ้าไฟเปิดไม่ได้เพราะเน็ตล่มนี่ แม่ด่าตายเลยครับ 555+)
ฉะนั้นอุปกรณ์ SmartNode ของเราจะต้อง มีสวิตช์กดด้วยมือ ไว้สำรองเพื่อให้ใช้แทนกันได้
ในเวลาที่ระบบอินเตอร์เน็ตมีปัญหาครับผม โดยเราจะใช้หลักการต่อวงจรคล้ายๆกับภาพด้านล่างนี้ครับ

STEP 1: ทำ "ปลั๊กสวิชต์" ให้กับอุปกรณ์ปลายทาง

ปลั๊กสวิชต์ ในที่นี้หมายถึง การนำปลั๊ก(ตัวเมีย) ไปต่อแทนสวิชต์เดิมของอุปกรณ์ไฟฟ้า ครับ 
พูดไปก็อาจจะไม่เข้าใจมาก เอาเป็นว่ามาดูกันเลยแล้วกันนะครับ 

อันดับแรกก็ให้เดินไปที่สวิชต์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นเป้าหมายของเราครับ
เช่นของผม เลือกเป็น สวิชต์เปิดปิดของหลอดไฟหน้าบ้านของผมครับ


จากนั้นก็ทำการ ถอดสวิชต์ออกมาครับ (อย่าลืมสับคัทเอาท์ลงก่อนนะครับ ไม่งั้นมีวูบ!!! 5555+)
พอผมแกะออกมาแล้วก็พบแบบนี้ครับผม


ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีสายสีเทา ทีแวะเข้าไปในตัวสวิชต์ (สาย Line)
 ส่วนสายเส้นสีดำ (สาย Neutral) นั้นไม่ได้ผ่านสวิชต์แต่พุ่งตรงไปยังหลอดไฟเลย 

ซึ่งสายต่างๆที่เราเห็นจะตรงกับในภาพต่อไปนี้นะครับ


การที่หลอดไฟจะทำงานได้นั้น จะต้องมีไฟฟ้าไหล "ครบวงจร" ครับ โดยหากสถานะเป็นดังในภาพ
ไฟฟ้าจะไม่สามารถไหลได้ครบวงจร ทำให้หลอดไฟไม่ติดครับ แต่ถ้าหากตรงจุดที่ผมวงกลมไว้
(ก็คือจุดที่เรากำลังมองอยู่ตอนนี้) ตรงที่มันขาดออกจากกันถูกเชื่อมให้ต่อกัน 
ไฟฟ้าก็จะสามารถไหลได้ครบวงจรครับ (ไม่ขาดกลางทาง) ก็จะทำให้หลอดไฟทำงานได้
และสว่างติดขึ้นมาครับ (เรื่องนี้เป็นพื้นฐานของทางไฟฟ้าอยู่แล้วครับ)

ผมก็จะทำการตัดสวิชต์ออกไปนะครับ ซึ่งพอเอาออกไปแล้วก็จะเหลือแค่นี้ครับผม
จะเห็นได้ว่า สายสีดำ พุ่งตรงไปยังหลอดไฟเลย ในขณะที่สายสีเทาเป็นสายสวิชต์
ซึ่งขาดกลางทางอยู่ครับ ถ้าสายสีเทาต่อกันก็จะเหมือนเปิดสวิชต์ ไฟฟ้าก็จะสามารถไหลผ่านได้
ครบวงจร และหลอดไฟจะทำงานได้ครับ เราจะทำงานกับสายสีเทาเส้นเดียวนะครับ (สีดำเราจะไม่ยุ่ง)
(ถ้าจับมันต่อกันตอนนี้คงไม่ติดนะครับ ก็เราเอาคัดเอาท์ลงแล้วหนิ 555+)


ทีนี้เราก็เอาปลั๊กตัวเมียของเราออกมาครับ 
ที่ใช้ปลั๊กตัวเมียเพราะสายนี้เป็นสาย Line ซึ่งเป็นสายมีไฟครับ เราสามารถถูกไฟเส้นนี้ดูดได้ 
ถ้าใช้ปลั๊กตัวผู้แล้วปล่อยเปลือยๆไว้ แล้วเด็กๆมือบอนไปจับขาปลั๊กละก็ 
มีวูบแน่ๆครับ ใช้ปลั๊กตัวเมียที่ไม่มีส่วนที่นำไฟฟ้ายื่นออกมาจากปลั๊กจะดีกว่า 555+ 


ก็ทำการนำสายสีเทา มาต่อใส่ขาปลั๊กสองข้างนี้ครับ แล้วก็ขันน๊อตให้เรียบร้อยเลยครับ


จากนั้นก็เก็บสายไฟให้เรียบร้อย ทีนี้เราก็จะได้ปลั๊กไว้ให้เรานำ SmartNode มาเสียบเพื่อใช้งานแล้วครับ




(หาเทปพันสายไฟมาพันส่วนที่เหลือให้เรียบร้อยด้วยนะครับ 
(พอดีรูปที่พันสายไฟไว้แล้วมันหายครับ)

ซึ่งหากเราอยากใช้ SmartNode ควบคุมอุปกรณ์ไหน 
ก็ให้ทำปลั๊กแทนสวิชต์แบบนี้ไว้เลยครับผม
(แนะนำอย่าใช้กับอุปกรณ์ที่กินกระแสเยอะกว่า 5A นะครับ
อย่าไปวางใจรีเลย์ตัวเล็กๆครับผม 555+ ใช้แค่กับหลอดไฟก็พอครับ)



STEP 2: ประกอบ SmartNode ให้สมบูรณ์!!!!

ทีนี้พอเสร็จจากการทำปลั๊กสวิชต์ให้กับอุปกรณ์ปลายทางแล้ว 
เราก็จะกลับมาทำ SmartNode กันต่อ โดยอุปกรณ์ที่เราจะใช้คร่าวๆก็เป็นดังนี้ครับ


ก็เริ่มจากการแกะปลั๊ก แล้วต่อสายไฟตามในรูปครับ 
ต่อปลั๊กขา 1 ให้ไปที่ขา C (ขากลาง,ขา Common) ของสวิชต์แบบ 2 ทางครับ


ตามด้วย ต่อสายไฟออกจากขา 1 และขา 2 ของสวิชต์ 2 ทาง
ไปที่ขา NC และ NO ของรีเลย์ ตามในภาพครับ


จากนั้นก็ ต่อสายไฟออกจากขา C (ขากลาง) ของรีเลย์ ไปยังขา 2 ของปลั๊กตัวผู้ครับ
เพียงเท่านี้ วงจรของเราก็จะเสร็จแล้วครับผม


ทีนี้ก็เจาะช่องสำหรับร้อยสายไฟ และจัดเรียงอุปกรณ์เข้าไป
ให้อยู่ภายในตัวถังของสวิชต์ให้เรียบร้อยครับ



จากนั้นก็ปิดหน้ากากและขันยึด NodeMCU V2 ของเราไว้ข้างๆให้สวยงามครับ
(เพื่อความเท่!!! อาจจะติดสติกเกอร์ WiFi แบบผมก็ได้นะครับ)


ย้ำอีกทีนะครับ ว่าปลั๊กตัวผู้นี้ห้ามเสียบกับเต้าไฟฟ้า
หรืออย่างอื่นที่ไม่ใช่ปลั๊กสำหรับแทนสวิชต์ที่เราทำขึ้นเอง
ในขั้นตอนก่อนหน้านี้เด็ดขาด เนื่องจากจะเกิดการลัดวงจรทันที เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้นะครับ

อาจจะใช้วิธีการเปลี่ยนปลั๊กตัวผู้ตัวเมียเป็น Connector 
แบบอื่น ก็ได้นะครับ เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่รู้นำไปเสียบ
เข้ากับเต้าปลั๊กไฟโดยตรงครับผม

แค่นี้ก็เสร็จแล้วนะครับสำหรับอุปกรณ์ SmartNode ของเรา 
ถ้าพร้อมแล้วก็ นำปลั๊กไปเสียบกับปลั๊กสวิชต์ของเรา และเสียบ Adapter เปิดบอร์ดให้เรียบร้อย
แล้วก็เข้าสั่งงานผ่านไฟล์ HTML 5 ได้แล้วครับ ^___^ และก็อย่าลืมลองใช้มือเปิดปิดสวิชต์ธรรมดาดู
เพื่อตรวจสอบว่าระบบสำรองกรณีเน็ตล่มของเราสามารถใช้งานได้หรือเปล่า ด้วยนะครับ



สำหรับวีดีโอการทดสอบของผมก็เป็นแบบนี้ครับ


THE END.... 
จบแล้วค้าบบบบ 55555+

กระผม นายเซเรฟ ขอจบซีรีย์บทความ อันแสนจะยาวนานกว่า 6 ตอน ที่มีชื่อว่า
"สอนสร้าง "Smart Home" ด้วย NodeMCU V2" ไว้เพียงเท่านี้นะครับ

หลังจากที่บทความนี้เผยแพร่ออกไป ต้องขอขอบคุณทุกคนที่ติดตามกันโดยตลอดมานะครับ
นั่นเป็นเหมือนแรงผลักดัน ให้ผู้เขียนอย่างผม มีกำลังใจในการลงบทความตอนต่อๆมาเรื่อยๆครับ
ขอขอบคุณทาง NECTEC สำหรับ Platform ดีๆ ที่เปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนได้ใช้งานอย่างทั่วถึง
และขอขอบคุณทุกคนด้วยใจจริงครับ ถึงแม้ว่าบทความของผมนั้นจะเป็นระดับง่ายๆ 
และไม่มีอะไรมาก ซึ่งทุกคนก็น่าจะศึกษาและมีความรู้มาอยู่พอสมควรแล้ว
แต่ถึงกระนั้นก็ยังคงมีคนติดตามอ่านมาจนถึงตอนจบนะครับ สำหรับโปรเจคนี้
ผมเองก็ได้ศึกษาและได้พัฒนาความรู้ให้กับตัวเอง และก็รู้สึกดีที่ได้แบ่งปันกับผู้อื่น
ที่กำลังจะเป็น The Maker ที่ดีในอนาคตอันไกล้นี้ ด้วยความภูมิใจอย่างยิ่งครับ
กับชีวิตเด็ก ม.ปลายธรรมดาๆ ที่เพิ่งจะจบการศึกษาจากโรงเรียน
และกำลังจะก้าวสู่มหาวิทยาลัย กับการได้ทำโปรเจค IoT สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมา
นับเป็นความภูมิใจครั้งหนึ่งใจชีวิตเลยครับ จากนี้ไปผมก็จะพยายามแบ่งปันสิ่งดีๆ 
ให้ทุกๆท่านกันต่อไปนะครับ

หากบทความของผมส่วนใดมีข้อบกพร่อง มีเนื้อหาผิดพลาด คอมเมนต์ไว้ด้านล่างได้เลยนะครับ
ผมจะนำไปปรับปรุงและแก้ไขเพื่อให้คนอื่นๆได้รับข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดอยู่เสมอครับผม

ขอบคุณครับ ^___^

เซเรฟ...คนที่โลกไม่ต้องการ
(คนที่ไม่ต้องการโลก 5555+)


19 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุนสำหรับความรู้ครับ

    ตอบลบ
  2. เยี่ยมมากครับ และขอขอบคุณมากๆ ที่แบ่งปันครับ

    ตอบลบ
  3. วิธีเปิดใน มือถือ นี้ ทำยังไง ครับ.

    ตอบลบ
  4. เจ๋งเลยครับ เป็นแนวทางต่อยอดของผมเลย

    ตอบลบ
  5. สุดยอดครับ อธิบายละเอียดสุดยอด

    ตอบลบ
  6. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  7. ตอนที่จะ add NETPIE Feed Datasource. จะไม่มีช่อง microgear reference กับช่อง drive alias..ไม่เหมือนในตัวอย่าง เป็นเพราะอะไรครับ.

    ตอบลบ
  8. ผมรบกวนขอโปรแกรมArduino ใช้และ libraries yodchai@sysp.ac.th ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  9. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  10. ทำไมใช้ในโทรศัพท์ไม่ได้ครับ ต้องลงอะไรเพิ่มมั้ยครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  11. แปลงจาก html ในคอมไปเข้าในโทรศัพท์อย่างไรครับ TT

    ตอบลบ
  12. พี่ครับ ขอคำปรึกษาหน่อยครับ พอดีผมกำลังทำโปรเจคที่เกี่ยวกับการเปิดปิดระบบไฟฟ้าผ่านเว็บบราวเซอร์อยู่ ตอนนี้ผมมีบอร์ด ESP แล้ว แต่ผมไม่รู้จะต้องเริ่มยังไง

    ตอบลบ
  13. หามาทั้งวันจนกระทั้งคิดเองเสร็จแล้วเพิ่งเจอ ขอบคุณครับสำหรับ ข้อมูลดีๆ

    ตอบลบ